ทำไมเกม Minecraft ถึงเป็นเกมที่ได้รับความนิยมของคนส่วนใหญ่

เกมส์แนว Role Play การผจญภัย

Minecraft คืออะไร ทำไมถึงฮิตนัก

เป็นเวลานานพอสมควรแล้วที่เมื่อผมเข้าไปดูคลิปวิดีโอ  ในเว็บไซต์ Youtube จะเป็นการยากนักถ้าไม่ได้เห็นคลิปเกี่ยวกับเกม Minecraft ที่มียอดคนดูติดอันดับต้นๆ เคียงคู่กับคลิปโชว์การเล่นเกมFPSที่เป็นที่นิยมตามช  ่วงเวลานั้นๆ จึงเกิดความสงสัยว่าเจ้า Minecraft มันคืออะไรกันแน่ ทำไมกราฟิกหยาบๆ สามารถแทรกตัวมาอยู่ในความสนใจของคนมากมายได้ในโลกที  ่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เน้นเรื่องความเสมือนจ  ริงมากที่สุด (Hi-Def)

Minecraft คือเกมที่เราสามารถสร้างสรรค์สภาพสิ่งแวดล้อมในตัวเก  มได้เอง(sandbox) ที่ได้แรงบันดาลใจจากเกม Infiniminer ที่ถูกเผยแพร่บนโลกอินเตอร์เดือนเมษายน ปี 2009 – สร้างโดย Markus Persson ผู้ก่อตั้งบริษํทขนาดย่อมเยาพร้อมทีมงานอีก 9 คน นามว่า Mojang AB ใจความหลักๆ ของตัวเกมคือการให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมในการสร้างและทำ  ลาย บล็อกในลักษณะต่างๆ ในสภาพแวดล้อมสามมิติ

ในMinecraft วัตถุทุกประเภทจะอยู่ในรูปแบบบล็อกสี่เหลี่ยม รวมทั้งสภาพแวดล้อม วัสดุ แม้กระทั่งตัวละคร บล็อกต่างๆ นี่สามารถเปลี่ยนเป็นเป็นวัสดุประเภทอื่นๆได้โดยการโ  หลด Texture Packs ใหม่ๆของทางผู้ผลิต

การเล่นต่างจะคล้ายเคียงกับเกม RPGทั่วไปที่ผู้เล่นสามารถ สร้างไอเทมต่างๆ ได้โดยการรวบรวมวัตถุที่กำหนดมารวมกันเพื่อจะได้มาซึ  ่งไอเทม จุดเด่นคือไม่เพียงแต่ไอเทมเครื่องแต่งกาย อาวุธ หรืออาหารที่สามารถสร้างได้เหมือนในเกม RPG ทั่วไปเท่านั้น แต่ในMinecraft นั้นสามารถสร้างไปได้ถึงวัสดุต่างๆ เรียกว่าผู้เล่นสามารถสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม และสิ่งของได้ตามใจอยากเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ผู้เล่นสามารถเข้าไปเล่นในโหมดต่างๆ เช่น Creative Survival Advanture Capture the Flag Zombie Siege รวมไปถึง โหมดฝึก ทั้งในแบบ Single Player และ Multiplayer

ในอนาคตผู้ผลิต Minecraft มีแผนที่จะพัฒนาตัวเกมให้เสร็จสมบูรณ์ และเผยแพร่ในระบบของ Downloadable Client และยังจะปล่อยตัวช่วย Mod ให้ดาวโหลดกันอีกด้วย สำหรับผู้ที่ซื้อตัว จะได้ส่วนขยายตัวเกมหลังจากที่เกมสมบูรณ์แล้ว และเมื่อยอดขายของเกมเริ่มซบเซาลง ทางผู้ผลิตตั้งใจว่าจะเปิดเผยโค๊ดในการสร้างเกมอย่าง  สาธารณะ

จะว่าไปแล้ว Minecraft สามารถนำมายกเป็นตัวอย่างให้แก่นักพัฒนาเกมให้เน้นถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ของตัวเกมก็ว่าได้

ใส่ความเห็น